โป่งสัตว์ แหล่งแร่ธาตุสัตว์กินพืช แหล่งอาหารสัตว์กินเนื้อ สถานที่หวานเจี๊ยบพรานไพร

หากไปเที่ยวป่า หรือน้ำตก หลาย ๆ ที่มีป้ายบอกตำแหน่งไป โป่งสัตว์ หรือดินโป่ง แต่ถ้าเป็นโป่งสัตว์ใหญ่ เขาไม่ค่อยให้เข้าใกล้กันนักหรอก นอกจากโป่งผีเสื้อ ที่สวยงาม

โป่งเกี่ยวอะไรกับสัตว์ ส่วนมากจะคุ้นกับแนวผี ๆ มากกว่า หากเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หาความหมายดู ก็จะพบว่าหมายถึง… น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง ดินโป่ง, เรียกผีที่เชื่อว่ามีอยู่ในที่เช่นนั้น ว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง ว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า

ทำความรู้จักดินโป่ง

นอกจากความหมายที่ยกมาข้างต้นแล้ว พจนานุกรมฯ ยังให้ความหมายของโป่ง อีกว่า…

น. ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลมหรือแก๊ส เช่น ลูกโป่ง

และ น. เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุดพุขึ้นมา ว่า โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้น ว่า นํ้าโป่ง.

สรุปจากความหมายของพจนานุกรม ดินโป่ง ก็คือ ดินที่มีแร่ธาตุ แล้วลักษณะป่อง ๆ ร่วน ๆ เพราะไม่งั้นสัตว์จะคุ้นกินไม่ได้

ภาพโดย Brent Olson จาก Pixabay

อธิบายความสำคัญของดินโป่ง

ดินโป่งนั้น ก็คือ ดินที่ผสมแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P)  โปแตสเซียม (K) โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) โคบอลล์ (Co) ทองแดง (Cu) ไอโอดีน (I) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) เป็นต้น

แร่ธาตุเหล่านี้มีส่วนสำคัญ ในการเสริมสร้างประดูก และกล้ามเนื้อของสัตว์กินพืช เพราะพืชไม่สามารถให้ได้ พวกมันจึงต้องอาศัยจากดินโป่ง ส่วนสัตว์กินเนื้อก็เอามาจากสัตว์กินพืชอีกต่อหนึ่ง นี่แหละที่เรียกห่วงโซ่อาหาร

ดินโป่งแต่ละแห่ง มีแร่ธาตุไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้น ๆ สัตว์จึงจำเป็นต้องกินดินโป่งหลายแห่ง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ดินโป่งแม้เป็นประโยชน์กับสัตว์กินพืชอย่างยิ่ง แต่ก็ชักนำอันตรายมามากเช่นกัน เพราะสัตว์กินเนื้อมันรู้ว่า พวกสัตว์ที่เป็นอาหารของมันต้องมากินดินโป่ง พวกเขี้ยวแหลมต่าง ๆ จึงมักมาซุ่มรออยู่บริเวณใกล้ ๆ ทั้งนี้รวมทั้งมนุษย์ด้วย คนเรานั้นได้ 2 ต่อ เพราะได้ยิงสัตว์กินเนื้อด้วย ไม่เหมือนสัตว์กินเนื้อที่ได้เฉพาะสัตว์กินดินโป่ง

ภาพโดย Leopictures จาก Pixabay

ประเภทของดินโป่ง

ในธรรมชาติดินโป่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

โป่งดิน หรือโป่งแห้ง

ซึ่งก็คือ แร่ธาตุที่อยู่ในที่ราบ ที่แห้ง ดินร่วน สัตว์ก็จะเข้ามาขุดมากิน แต่ถ้าช่วงหน้าแล้งดินแข็ง สัตว์ก็กินไม่ได้ เพราะขุดคุ้ยไม่ไหว

โป่งน้ำ หรือโป่งเปียก

โป่งนี้ตรงข้ามกับแบบแรก เพราะอยู่ในน้ำ

นอกจากนี้ บางครั้งโป่งดิน หรือโป่งแห้ง ก็ให้น้ำได้ หากกรณีที่สัตว์คุ้ยกินดินจนเป็นแอ่ง เป็นบ่อ แล้วฝนตกน้ำขัง พอน้ำแข็งสัตว์ก็ไม่จำเป็นต้องกินดนละ ดื่มน้ำที่ขังได้เลย เพราะแร่ธาตุก็อยู่ในนั้นแหละ

สมัยผู้เขียนเป็นเด็กชั้นประถม แม่เลี้ยงวัวอยู่สองตัว ทุกวันแม่ต้องนำน้ำเกลือไปให้มันกินเสมอ ซึ่งคำตอบก็คือ ให้กินเพราะวัวต้องการเกลือแร่เช่นกัน

ต้นไม้ก็ต้องการความเค็มนะ นอกจากปุ๋ยปกติแล้ว ลองใส่พวกเกลือ หรือขี้เกลือให้สักเล็กน้อย ต้นไม้จะงามเลยล่ะ

โป่งเทียม

โป่งเทียม ก็คือโป่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา อย่างที่บอกว่าโป่งแต่ละแห่งมีแร่ธาตุไม่ครบ ถ้าแล้งมาก ดินแห้งสัตว์ก็กินดินไม่ได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงทำโป่งเทียมขึ้นมาเพื่อความสะดวกแก่สัตว์ โป่งเทียมสามารถใส่แร่ธาตุเข้าไปได้อย่างครบถ้วน คล้ายกับปะการังเทียมนั่นแหละ

ภาพโดย Kev จาก Pixabay

ไม่ควรเข้าใกล้โป่ง

โป่งสัตว์ มีความสำคัญ เวลาไปเที่ยว แม้มีป้ายชี้ว่าโป่งอยู่ไหน แต่มักมีป้ายกำกับเสมอว่า อย่าเข้าไปยังโป่ง ซึ่งคำเตือนนี้เตือนเพราะ

  • สัตว์อาจได้กลิ่นมนุษย์จนไม่กล้าลงมากินดินโป่ง
  • เราเองอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ โดยเฉพาะจากสัตว์นักล่าที่รอซุ่มอยู่

สรุป

โป่งสำคัญกับสัตว์ มนุษย์เราเองก็ต้องกินโป่ง ก็เกลือนั่นไง อดีตสงครามฆ่ากันส่วนหนึ่งก็มาจากแย่งชิงเกลือ เพราะเกลือมีแร่ธาตุที่สำคัญกับคน ปัจจุบันก็ยังสำคัญอยู่ ไม่ว่าเกือไอโอดีน หรือเกลือสินเธาว์ก็สำคัญทั้งสิ้น

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/โป่ง

http://biology.ipst.ac.th/?p=836


อ่านเรื่อง ๆ

หน้าแรก

You may also like...