คตปู ปูกลายเป็นหิน เครื่องรางทนสิทธิ์ ริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก

ชาวไทยมีความเชื่อเรื่องเครื่องรางในหลายชนิด ซากสัตว์ ซากพืชที่แข็งเป็นหิน ก็เป็นหนึ่งในนั้น เรียกกันว่า ของทนสิทธิ์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง เกิดตามธรรมชาติ ซากพืช ซากสัตว์ที่กลายเป็นหิน ภาษาทางการเรียก ฟอสซิล (fossil) ซึ่งกว่าจะเกิดได้ก็ต้องใช้เวลาหลายพันปี นักสะสมเครื่องรางมักเรียกฟอสซิลทนสิทธิ์ว่า คต ซึ่ง คตปู ถือเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม

คตปูคืออะไร

คตปูคือ ฟอสซิลปู พบในหลายพื้นที่ในไทย มีทั้งปูทะเล และปูน้ำจืด มีตั้งแต่หลักล้านปี ถึงพันปี เช่น ฟอสซิลปูกอดกันอายุราว3พันปี ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา, ชาวประมงบ้านสะพานหินวางอวนจับปู ได้ปูดำกลายเป็นหิน ที่ ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด, ฟอสซิลแม่ลูกปูดำอายุ 35 ล้านปี ที่ ต.คลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ เป็นต้น

ความเชื่อด้านเครื่องราง

เชื่อกันว่าหากพกคตปูไว้กับตัวจะเกิดโชคลาถ แคล้วคลาดปลอดภัย นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าสามารถอธิษฐานขอฝนได้ด้วย

กระบวนการเกิดฟอสซิล

การเกิดฟอสซิลมีหลายกระบวนการ กรณี คตปู สามารถอธิบายง่าย ๆ ได้ว่า เมื่อมันตายแร่ก็แทรกซึมเข้าไปในช่องว่างของร่างกายจนกลายเป็นหินในที่สุด นั่นแสดงว่า ปูไปตายตรงที่มีแร่อยู่เป็นจำนวนมาก

นี่เป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการเกิดคตปู ซึ่งอาจมีกระบวนการอื่น ๆ อีก ทั้งนี้ยกมาอธิบายให้พอเห็นภาพเท่านั้น เพราะไม่ต้องการให้บทความเป็นวิชาการนำหน้าเรื่องเล่า

คตปูริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก

ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ก็มีการขุดเจอฟอสซิลปูเช่นกัน แหล่งที่พบเป็นจำนวนมาก คือ บ้านมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

มูโนะ มีตลาดชุมชนขนาดใหญ่ ได้รับฉายาโรงเกลือชายแดนใต้ และตลาดนานาชาติ โดยที่มาที่ไปมีว่า

ย้อนไปเมื่อราว 300 ปีกว่า ๆ ไปไหนมาไหนผู้คนใช้ทางน้ำเป็นหลัก แม่น้ำสุไหงโก-ลก เป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญ มูโนะ คือ ท่าเรือการค้าที่ผู้คนนิยมแวะแลกเปลี่ยนสินค้ากัน กระทั่งเกิดเป็นชุมชนขึ้น และคำว่ามูโนะ ก็ตั้งตามต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อ “กาแจมูโนะ”

มูโนะเติบโตพร้อมวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่งดงามอย่างต่อเนื่อง เมื่อเป็นชุมชนใหญ่ จึงมีกิจกรรมสามัคคีที่สำคัญขึ้น เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ท่านครูหลงจึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมฤดูร้อนขึ้นที่ “บึงตาเซะเมาะสามู” อันเป็นบึงใหญ่อุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน กลางวันมีการวิดน้ำจับปลาจับปู แข่งเรือ กลางคืนมีการละเล่น เช่น มะโย่ง ดีเกบารัต ตือรี อนาซีต เป็นต้น

ต่อมา พ.ศ. 2419 โต๊ะครูรอซาลี บินยาลาลุดดีน จากอินโดนีเซีย ได้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาอิสลามและได้สร้างมัสยิดขึ้นชื่อว่า “มัสยิดดารุสสาลาม” ศาสนสถานแห่งนี้เป็นที่ยอมรับทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ผู้คนจากทั่วสารทิศต่างเดินทางเข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้านศาสนา

และนี่คือที่มาว่า เหตุใดตลาดมูโนะเป็นที่นิยมจากประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2517 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชกรณียกิจที่มูโนะ เวลาต่อมาได้เกิดโครงการชลประทานสร้างเขื่อนกั้นน้ำตามพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการทำนา ระหว่างขุดลอกคลองในส่วนของบึงใหญ่ตาเซะเมาะสามู ได้ค้นพบฟอสซิลปูหินจำนวนมาก

อ้างอิง

ngthai.com

ซากดึกดำบรรพ์


อ่านเรื่องอื่น ๆ

หน้าแรก

เฟซบุ๊กแฟนเพจ กลั่นแกล้ง

มดตะนอย เจ็บเล็กๆ ที่ถึงตาย

3 หมอ เอเลี่ยนสปีชี่ส์ กับคิดก่อนปล่อยสัตว์น้ำ เพราะนั่นอาจเป็นการทำลายประเทศ

หลุมพี เมื่อฉันหลงรักความเปรี้ยวชายแดนใต้

You may also like...