สิงหาคม เดือนที่เคยมี 30 วัน

1 ปีมี 12 เดือน ประกอบด้วย มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม เห็นได้ว่า เดือนที่ลงท้ายด้วย ยน มี 30 วัน ส่วนที่ลงท้ายด้วย คม ก็มี 31 วัน ทั้งนี้ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่บางปีมี 28 บางปีมี 29 วัน แต่รู้ไหมว่า เดือนสิงหาคมนั้น แต่เดิมมี 30 วัน

ที่มาของจำนวนวันของเดือนสิงหาคม

พวกชื่อเดือน ชื่อวัน คนที่คิด ที่ตั้ง แต่ดั้งแต่เดิม เขามักนำชื่อบุคคล หรือเทพมาใช้ อย่างเดือนสิงหาคม หรือ August นี่ก็ตั้งตามนามของ ออกัสตัส ซีซาร์ (Augustus Caesar) หลานของจูเลียส ซีซาร์ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่นั่นแหละ ฝ่าย ออกัสตัส ซีซาร์ นี่ก็เก่งกาจ หลังจูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา

โบราณ ปฏิทินดั้งเดิมของโรมันนั้นมีเพียง 10 เดือน ช่วงฤดูหนาวนั้นไม่มี กระทั่งจูเลียส ซีซาร์ กำหนดปฏิทินชื่อจูเลียน ขึ้นมา จึงได้เพิ่มเดือนอีก 2 เดือน คือ มกราคม และ กุมภาพันธ์

ปฏิทินจูเลียน กำหนดให้เดือนคี่มี 31 วัน เดือนคู่มี 30 วัน ยกเว้นกุมภาพันธ์มี 29 วัน กับ 30 วัน ทีนี้สิงหาคม ที่เป็นเดือน 8 ตกเดือนคู่ จึงมีเพียง 30 วัน ออกัสตัส ซีซาร์ ไม่พอใจสิครับ เดือนที่เป็นชื่อตัวเองมามีแค่ 30 วันได้อย่างไร จึงดึงวันของไอ้เดือนใหม่คือ กุมภาพันธ์ มาใส่เพิ่มให้เดือนสิงหาคมซะเลย ฉะนั้น สิงหาคม จึงมี 31 วัน ส่วนกุมภาพันธ์ก็มี 28 กับ 29 วัน ด้วยประการฉะนี้

คนมีอำนาจ เขาก็ใช้อำนาจเพิ่มวัน เพิ่มเวลา

ไอ้เราคนธรรมดา จะยืดเวลาออกไป ก็ต้องใช้ความรัก ละครับ

ภาพโดย Margo Lipa จาก Pixabay

ทำไมต้องคม ต้องยน

ปฏิทินสากลที่เราใช้อยู่นี้เป็นแบบสุริยคติยึดตามปฏิทินจูเลียน เดิมเราก็เรียกชื่อเดือนทับศัพท์มา เดือนที่ 1 ก็เรียกแยนยัวรี่ เดือน 2 ก็แฟบบรัวรี่ อย่างนี้ กระทั่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งทรงมีความสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์ ได้ตั้งชื่อแบบไทย ๆ ขึ้น แล้วทูลเกล้าฯ ถวาย ร.5 และโปรดให้ใช้เป็นประเพณีของบ้านเมืองแต่ พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา

สำหรับแนวคิด “ชื่อเดือน” ก็นำราศีทั้ง 12 มาตั้ง โดยแล้วสธิด้วยคำว่า “อาคม” และ “อายน” ที่แปลว่า การมาถึง อายน ใช้กับเดือนที่มี 30 วัน ส่วน อาคม สนธิกับเดือนที่มี 31 วัน ด้วยประการฉะนี้

ภาพโดย tigerlily713 จาก Pixabay

เริ่มต้นกำหนดปีใหม่ไทยตามสากล

เดิมไทยนับวันตามจันทรคติ คือ นับแรม นับค่ำ ไม่ได้นับแบบสากลตามปฏิทินจูเลียน โดยกำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะวันไม่ตรงกับปฏิทินสากล จึงประกาศใช้ปฏิทินจูเลียน ใน พ.ศ.2432 อย่างที่ยกมาก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังกำหนดให้เดือนแรก หรือปีใหม่ไทยเป็นเดือนเมษายนอยู่เหมือนเดิม

ต่อมาปี 2483 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นว่าวันขึ้นปีใหม่ไทย ยังไม่ตรงกับสากล จึงได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม ส่งผลให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นปีแรกที่ประเทศไทยใช้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับสากล

อ้างอิง

รู้จักที่มา ความหมายของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนของไทย แท้จริงแล้ว มาจากอะไร ?

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

เหตุใด ‘กรกฎาคม-สิงหาคม’ ถึงเป็นสองเดือนที่มี 31 วันติดกั


อ่านเรื่องอื่น ๆ

หน้าแรก

เฟซบุ๊กแฟนเพจ กลั่นแกล้ง

เครื่องถ้วย ลายคราม เมื่อยุโรปก็เคยก็อปปี้จีน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน กรณีศึกษาจาก ทุเรียนยะลา เพราะเป็นหนอนมาเลย์

หมุดบนกางเกงยีนส์มีทำไม ทุกอย่างมีประโยชน์ ไม่ได้เกิดมาเท่ไปวันๆ

You may also like...