ย้อนรอย ถาดหลุม ภาชนะใส่อาหารที่คุณคุ้นเคย

ภาพโดย Gen Matic จาก Pixabay

ถาดหลุม คำนี้ไม่ต้องอธิบายให้มากความ เพราะทุกคนรู้จักกันดีว่าคือภาชนะใส่อาหารที่ใส่ได้ครบทั้งข้าว ทั้งกับ ขนมหวาน ผัก น้ำพริก ยกทีเดียวได้ครบ 5 หมู่ ไม่ต้องแบ่งถ้วยจานให้มากชิ้น คุ้นเคยทั้งมื้อกลางวันโรงเรียน ไม่สบายนอนโรงพยาบาลก็มีให้ใช้ เกณฑ์ทหารก็มี ถาดหลุมทหาร อีก กล่าวเฉพาะคำว่า “ถาด” พจนานุกรมบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้นิยามคำศัพท์ว่า น. ภาชนะใส่สิ่งของ ทำด้วยไม้หรือโลหะเป็นต้น รูปเตี้ย ๆ แบน มีขอบ

อาจจะยากหากจะให้ค้นว่าถาดหลุมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ เพราะเอาเข้าจริง วัฒนธรรมการกินอาหารประเทศไทยเองก็มีลักษณะคล้ายถาดหลุมเช่นกัน เพราะวางถ้วยจานมาบนถาดที่เรียกว่าสำหรับ ขันโตก นั่นก็คล้าย บทความนี้จึงหยิบยกวัฒนธรรมอาหารที่พอเรียกว่าเป็นถาดหลุมมาแลกเปลี่ยนกัน หากท่านใดอ่านล้วมีความคิดเห็นอย่างไร คอมเม้นต์มาบอกกล่าวกันบ้างนะครับ

Gujeolpan เจ้าหญิงนพเก้า

Gujeolpan เจ้าหญิงนพเก้า เป็นถึงอาหารชาววังของเกาหลีใต้ ในราชสำนักโชซอน รูปแบบอาหารคือ จัดวางภาชนะใส่ไว้ 9 ส่วน โดยวางในถาดทรงแปดเหลี่ยมอย่างสวยงาม กล่าวคือตรงกลางเป็นถ้วยกลม 1 ถาด รอบ ๆ ทั้ง 8 เป็นถ้วยสี่เหลี่ยมคางหมู เมนูนี้คล้ายกินเมี่ยงคำ เพราะช่องตรงกลางของ Gujeolpan เป็นแผ่นแป้งบาง ใช้สำหรับม้วนเครื่องเคียงนั่นเอง เครื่องเคียงประกอบด้วย กุ้งสด, ปู, เนื้อหมูปรุงรส, ไข่ขาว, ไข่แดง, แตงกวา, แครอท และ เห็ดหอม

By w:user:Kaszeta – Uploaded to English Wikipedia as w:file:Blue plate.jpg by w:user:Kaszeta 16:11, 29 December 2004, and modified by w:user:Dpbsmith 16:53, 29 December 2004, with the comment “Same image, slightly photoshopped for clarity”, CC BY-SA 3.0, Link

Blue plate อาหารบนจานแบ่งสีน้ำเงินราคาเยา

ประมาณ ค.ศ. 1920 สหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤติข้าวยากหมากแพง อาหารมีราคาสูงขึ้น ร้านอาหารแห่งหนึ่งจึงเกิดความคิด นำจานที่แบ่งเป็นช่อง ๆ ซึ่งเป็นสีน้ำเงิน มาใช้ใส่อาหาร ความพิเศษของจานนี้ อยู่ที่ช่อง ๆ คล้ายถาดหลุม มันสามารถใส่ซุป ใส่เนื้อ ใส่ขนมปังมาได้ทีเดียว โดยไม่ได้เปลี่ยนจาน แล้วขายในราคาจับต้องได้ (น่าจะช่วยลดต้นทุนด้านค่าแรงพนักงานบ้าง ข้อนี้ผู้เขียนคะเน) ปัจจุบันยังมีสำนวน Blue plate special ซึ่งหมายถึง อาหารจานหลักในราคาพิเศษ ใช้อยู่

ถาดหลุมในกองทัพ

ถาดหลุมในกองทัพที่ยกมา ไม่ได้หมายถึง ถาดหลุมทหาร ที่ใช้ใส่อาหารในโรงอาหาร แต่หมายถึงพวกหม้อสนาม ซึ่งแม้รูปร่างจะไม่เหมือนถาดหลุมซะทีเดียวแต่ลักษณะใช้งานคล้ายกัน เพราะหม้อใหญ่ใส่หม้อเล็กได้เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย เดินทัพ และแบ่งช่องด้วย

เหล่านี้คือตัวอย่างของ ถาดหลุม ที่ยกมาเล่าสู่กันอ่านครับ

ภาพโดย tove erbs จาก Pixabay

อันตรายจากถาดหลุม ถาดหลุมเป็นภาชนะใส่อาหาร ฉะนั้นจึงต้องเลือกชนิดที่ปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อน หลักเลือกซื้อถาดหลุมง่าย ๆ คือ เน้นที่ผลิตจากสแตนเลส เพราะสแตนเลสไม่มีสารปนเปื้อนเหมือนอลูมิเนียม และที่สำคัญ ใช้แล้วต้องล้างทำความสะอาดให้ถูกหลักอนามัย

อ้างอิง

Enjoy K Food

“Korean Spoon” อร่อยเต็มอิ่ม อาหารเกาหลีรสต้นตำรับ

Blue-plate special

10 สำนวนภาษาอังกฤษ ที่มีคำว่า “blue” อยู่ในประโยค


อ่านเรื่องอื่น ๆ

หน้าแรก

เฟซบุ๊กแฟนเพจ กลั่นแกล้ง

สิงหาคม เดือนที่เคยมี 30 วัน

เครื่องถ้วย ลายคราม เมื่อยุโรปก็เคยก็อปปี้จีน

หมุดบนกางเกงยีนส์มีทำไม ทุกอย่างมีประโยชน์ ไม่ได้เกิดมาเท่ไปวันๆ

You may also like...