วัดกัลยาณมิตร ขอพรพระโต ซำปอกง ให้แคล้วคลาดปลอดภัย

เรียกได้ว่าเป็นวัดจีน ก็ไม่ผิดนัก สำหรับ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เพราะเริ่มแรกนั้น เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายก ชื่อจีนว่า เต๋า แซ่อึ้ง ได้อุทิศบ้าน และที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่ภิกษุชาวจีนพำนักอยู่ (หมู่บ้านกุฏีจีน) สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2368 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง แด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร ซึ่งแปลว่า มิตรที่ดี

ต่อจากนั้น รัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างพระวิหารหลวง และพระประธานองค์ใหญ่ ประดิษฐานไว้ ด้วยทรงประสงค์ให้มีพระโต อยู่นอกกำแพงเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล เหมือนอย่างกรุงศรีอยุธยา ที่มีพระโต ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพนัญเชิง ด้วยเหตุนี้ พระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.46 นี้ จึงมีชื่อว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต)” เหมือนดั่งวัดพนัญเชิง

ฉะนั้นวัดกัลยาณมิตร จึงมีสถาปัตยกรรมทั้งจีน และไทยผสมกัน ทั้งรูปแบบการไว้พระก็มีทั้งแบบไทย และจีน

พระพุทธไตรรัตนนายก วัดกัลยาณมิตร มีอีกชื่อหนึ่งว่า “ซำปอฮุดกง” หรือ “ซำปอกง” ซึ่งมีความหมายว่า คุ้มครอง ปลอดภัย เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน ที่ตรุษจีนครั้งใด จะแห่แหนกันมากราบไหว้ขอพรกันแน่นวัด (วันปกติก็มากอยู่แล้ว)

คำว่าซำปอกง นอกจากเป็นชื่อพระโตแล้ว ในด้านตำนานจีน ชื่อนี้ยังเป็นวีรบุรุษอีกด้วย แถมท่านยังเป็นนักเดินเรือที่เก่ง ออกเดินทางครั้งใด ก็แคล้วคลาดปลอดภัยทุกครั้ง สำหรับเรื่องราวเหล่านี้ ขอเชิญอ่านได้จากลิงค์นี้… http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000037833

วัดกัลยาณมิตร นั้น เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 371 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร หากเดินทางมากับรถส่วนตัว เมื่อเลี้ยวเข้าซอยกัลยาณ์ แล้วจะเห็นช่องเก็บเงินค่าบำรุงที่จอดรถ 20 บาท เมื่อขับตรงตามทาง จะพบว่าลานหน้าวัดนั้น มีรถยนต์จอดอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งที่จอดนี้ ไม่เพียงมาไว้พระโตที่วัดกัลยาณมิตรเท่านั้น แต่ยังเดินทางไปไหว้พระที่วัดระฆัง และวัดอรุณฯ ด้วย โดยการมาจอดรถไว้ที่วัดนี้ แล้วต่อเรือไป เพราะ 2 วัดดังกล่าว พื้นที่จอดรถไม่ค่อยสะดวกสักเท่าไหร่


อ่านเรื่องอื่น ๆ

หน้าแรก

เฟซบุ๊กแฟนเพจ กลั่นแกล้ง

วัดไชยวัฒนาราม โบราณสถาน กับเมรุทิศ – เมรุราย สถาปัตยกรรมรูปแบบพิเศษเพียงหนึ่งเดียว

มหัศจรรย์ โพธิ์สีชมพู แห่งวัดโพธิ์ทอง พิจิตร

วัดสิงห์ วัดโบราณปทุมธานี

You may also like...