มารู้จัก ปูเสฉวนบก กันเถอะ

มารู้จัก ปูเสฉวนบก กันเถอะ : เวลาไปทะเลหลายคนอาจแปลกใจเมื่อจู่ๆ ก็เห็นเปลือกหอยเดินได้ และเจ้าเปลือกหอยที่ว่านั่นก็ดันมีขาแหลมๆ ยื่นออกมาด้วย ดูยังไงก็ไม่น่าจะใช่หอย จริงๆ แล้วนั่นไม่ใช่หอยแต่เป็น ชีวิตในประชาคม, อาราม หรือ ปูเสฉวน นั่นเอง ซึ่งก็มีทั้งแบบที่อยู่ตามริมชายหาด ในน้ำลึก และใช้ป่าริมทะเลเป็นที่อาศัย ชนิดหลังนี้เรียกกันว่าเสฉวนบก

ปูเสฉวนบก เป็น 1 ในประมาณ 1,100 ชนิด อยู่ในสกุล Coenobita (คำนี้มาจากภาษาละตินที่ว่า COENOBIVM และภาษากรีกโบราณ κοινόβιον แปลว่า “ชีวิตในประชาคม, อาราม”) คงนำลักษณะที่ชอบอยู่ในเปลือกหอยนั่นเอง

ที่ต้องอยู่ในเปลือกหอย เพราะเจ้าปูเสฉวนมีลำตัวส่วนท้ายอ่อนนุ่ม จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเพื่อป้องกันตัวและให้ร่างกายชุ่มชื้น หากถอดเปลือกหอยออก ลักษณะของมันจะมองเห็นเป็นก้ำกึ่งระหว่างปูกับกุ้ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีขา 10 ขา เช่นเดียวกับปูทะเลทั่วไป โดยขา 3 คู่หน้าอยู่นอกเปลือกหอย อีก 2 คู่หลังมีหน้าที่ยึดให้ลำตัวติดอยู่กับเปลือกหอยด้านใน ก้ามของปูเฉสวนบกนั้นข้างหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกข้าง เพื่อใช้เป็นอาวุธและนับหน้าที่เป็นฝาปิดเปลือกหอยด้วย

ปูเสฉวนบก อยู่ในน้ำทะเลเป็นเวลานานไม่ได้ เพราะไม่มีระบบหายใจแบบปลาแบบปูทั่วไป ฉะนั้นหากจับมันโยนโครมลงทะเล มันก็จะตาย ถึงจะไม่อยู่ในทะเล แต่มันต้องแบกเปลือกหอยไปริมทะเลบ่อยๆ นั่นเพราะต้องกินน้ำทะเล เพื่อรับแคลเซี่ยมและเกลือแร่นั่นเอง ส่วนอาหารหลักก็กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหารเหมือนปูเสฉวนประเภทอื่นๆ แต่มันจะแตกต่างหน่อยตรงที่หากินตอนกลางคืนเป็นหลัก ส่วนกลางวันจะซุกอยู่ตามใบไม้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น

เปลือกหอยสำหรับปูเสฉวนบกแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงที่อยู่เท่านั้น แต่มีความสำคัญระดับชีวิตเลยทีเดียว เพราะมันต้องการความชื้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นถ้าอยู่นอกเปลือกหอยเกิน 24 ชั่วโมง มันก็จะตาย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปูเสฉวนบก

เพราะปูเสฉวนบกมีชีวิต แต่เปลือกหอยตายแล้ว มันจึงโตขึ้นโดยที่เปลือกหอยขนาดเท่าเดิมไม่มขยายตามตัว ฉะนั้นปูเสฉวนบกจึงต้องเปลี่ยนเปลือกหอยใหม่ตามระยะเวลาขยายตัว

ปูเสฉวนบกจะออกจากเปลือกใน 2 กรณี คือ ผสมพันธุ์ และเปลี่ยนเปลือกหอยตามขนาดตัว

ปูเสฉวนบกมักถูกจับไปเลี้ยง ถึงขนาดมีการประกาศขายตามสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งทั้งหมดที่ขายกันมาจากแหล่งธรรมชาติ เพราะยังไม่สามารถเพาะพันธุ์เชิงพานิชย์ได้

ภาครัฐพยายามอนุรักษ์ปูเสฉวนบกมาตั้งปต่ พ.ศ. 2542 แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ประกาศเป็นสัตว์คุ้มครอง

ปัญหามลพิษทางทะเล เช่น ขยะพลาสติก ทำให้ปูเสฉวนบกตายเป็นจำนวนมาก เพราะถ้ามันตายแล้วจะปล่อยกลิ่นสารเคมีออกมา กลิ่นนี้จะดึงดูตัวอื่นๆ มาหา ฉะนั้นเมื่อมันตายอยู่ในขยะพลาสติก เพื่อนที่เดินมาหาก็จะตายจากพิษขยะพลาสติกด้วย เป็นลูกโซ่เรื่อยๆ

เพราะเปลือกหอยที่เหมาะสมจะเป็นบ้านลดน้อยลงจากหลายๆ สาเหตุ ที่หนักก็มนุษย์เก็บไป ทำให้พวกปูเสฉวนต้องเข้าไปอยู่ในขยะแทน เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก

ปูเสฉวนบก ถึงจะเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่มองแล้วก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรได้นอกจากเลี้ยงไว้ดูเล่น แต่ทุกชีวิตก็มีความสำคัญต่อโลก พวกมันคอยทำหน้าที่ทำความสะอาดให้ชายหาด เพราะมันกินซากพืชซากสัตว์ ให้ปุ๋ยแก่ดิน แพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ หากมองในมุมนี้แล้ว เราจะเห็นความสำคัญของมัน

มาช่วยกันอนุรักษ์ปูเสฉวนบกกันเถอะ เพราะวิธีการง่าย ไม่ซับซ้อน แค่ไม่เก็บเปลือกหอยกลับบ้าน ไม่ทิ้งขยะลงพื้นที่ทะเล ไม่จับปูเสฉวนไปเลี้ยง ฯลฯ


อ่านเรื่องอื่นๆ

หน้าแรก

เฟซบุ๊กแฟนเพจ กลั่นแกล้ง

รู้ประโยชน์ของใบอ้อย ก่อนตัดสินใจ เผาอ้อย ของดีจากธรรมชาติที่หลายคนอาจไม่รู้

ฝุ่น PM2.5 : ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวัง

ดาหลา สาวงามแห่งพงพี

You may also like...