ปลาสาก นักล่าติดเทอร์โบ
จากกรณีที่ ด.ช.ณภัทรไชยารักษ์ คริสเตนโก หรืออเล็กซ์ ลูกครึ่งไทย-ยูเครน ถูกสัตว์ทะเลกัดที่หาดกมลา ภูเก็ต เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ต้องเย็บถึง 33 เข็ม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจาก กลุ่มอนุรักษ์ Oceon For All ยืนยันว่าเป็นฉลาม ไม่ใช่ ปลาสาก อย่างที่เด็กชายสันนิษฐานไว้เบื้องแรก ทำไมเขาถึงเดาว่าที่กัดขาของเขานั้นเป็นปลาชนิดนี้ เรามาทำความรู้จักมันกันเถอะ

ปลาสาก ไม่ได้เรียกเฉพาะเจาะจง เพราะมันมี 26 ชนิด มีทั้งที่ชอบอยู่เป็นกลุ่ม และฉายเดี่ยวอย่าง ปลาสากใหญ่ เป็นต้น หากินในน้ำตื้น ริมหาด เรียกรวมๆ ว่า วงศ์ปลาสาก หรือ วงศ์ปลาน้ำดอกไม้ มีชื่อ Sphyraenidae เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะของพวกมันที่เหมือนกัน คือ ลำตัวกลมยาว หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม แข็งแรง ตาโต มีครีบหลัง 2 ตอน ส่วนที่แตกต่างแยกออกไปตามชนิด คือ สีพื้นลำตัว และขนาดลำตัว ซึ่งมีตั้งแต่ 30 – 180 เซ็นติเมตร
พวากวงศ์ปลาสาก เป็นปลาที่มีความไวสูง ปราดเปรียว ล่าฝูงปลาต่างๆ เป็นอาหาร ถือเป็นผู้ล่าอันดับต้นๆ ของห่วงโซ่อาหารเลยทีเดียว ความเร็วของมันนั้น ถ้าเป็นปลาสากใหญ่ จะว่ายน้ำได้เร็วถึง 58 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยเชียว

มาถึงจุดที่ว่า เหตุใดน้องอเล็กซ์ ถึงสันนิษฐานว่าปลาสากเป็ฯสัตว์น้ำที่งับขาเขา นั่นเพราะก่อนโดนกัด เขาเห็นปลาบางอย่างยาวๆ อยู่เบื้องล่าง ก่อนมันจะพุ่งปรี๊ดมาทำร้ายเขา ซึ่งตามข้อมูลแล้ว มีประวัติว่าปลาสากเคยทำร้ายคนด้วย แต่ไม่เคยมีรายงานว่าเคยทำใครตาย ก็แค่กัดเฉยๆ กรณีที่ทำร้ายคนจนมีบันทึกไว้ ก็ที่สหรัฐอเมริกา เรื่องนี้มันกระโดดขึ้นจากน้ำมางับแขนของเด็กหญิงวัย 14 ปีที่นั่งชิลล์ๆ อยู่บนเรือเลยเชียว ปรากฏว่าน้องต้องเย็บถึง 51 เข็ม
เห็นได้ว่าเด็กที่โดนปลาสากกัดต้องเย็บกันหลายสิบเข็มเลยทีเดียว นั่นเพราะมันมีฟันแหลมคม ถี่ และแข็งแรงมาก สามารถกัดปลาอื่นๆ ขาดท่อนได้เพียงกัดครั้งเดียวเท่านั้น

ดูเหมือนดุ แต่ปลาสากเป็นขวัญใจของนักดำน้ำ นักถ่ายภาพใต้น้ำ และบางชนิดยังเป็นปลาเศรษฐกิจ และเป็นเกมกีฬาตกปลาด้วย เรื่องตกปลา เพราะมันมีพละกำลัง และฟันที่แหลมคม ตัดสายเอ็นคันเบ็ดได้สบายๆ จึงท้าทายยนักเย่อปลายิ่งนัก แต่สำหรับนักตกปลาบางคนแล้ว ไม่ชอบมัมนเอาเสียเลย เพราะชอบเข้ามาแย่งเหยื่อไปซะดื้อๆ
ปลาสาก ค่อนข้างฉลาด มันชอบตามนักดำน้ำเพราะพวกเขามีไฟ มีวัตถุแวววาว ซึ่งนอกจากมันชอบแสงแวววาวเป็นการส่วนตัวแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจับปลาอื่นๆ ด้วย ก็ปลาอื่นชอบแสงแวววาวเหมือนกันนี่ โผล่มาก็โดนจัดการซะ
อ่านเรื่องอื่นๆ
อีกด้านหนึ่งของ ไฟป่า เมื่อการเผาไหม้มีประโยชน์กับต้นไม้
รู้ประโยชน์ของใบอ้อย ก่อนตัดสินใจ เผาอ้อย ของดีจากธรรมชาติที่หลายคนอาจไม่รู้
ฝุ่น PM2.5 : ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวัง